หน้าหลัก
Home
ข้อมูลหน่วยงาน
About us
บุคลากร
Staff
การบริหารบุคคล
Personnel
ข่าวสาร
News
แผน
Planning
รายงาน
Report
ระเบียบ
Rules
บริการประชาชน
Service
 
หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล ท่างาม ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
นายฐิติพงศ์ ศักดิ์ชัยสมบูรณ์
นายกอบต.ท่างาม
" สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
เน้นพลังการมีส่วนร่วม"
ที่ทำการ อบต.ท่างาม
วัดกำแพงแหล่งศรัทธาประชาชน
ท่างามแหล่งรวมปูชนียสถานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
สถานศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชน
สถานีอนามัยประจำตำบลท่างาม
วิสัยทัศน์ อบต.ท่างาม
“ เป็นองค์กรส่งเสริม
การจัดสวัสดิการชุมชน
พัฒนาทักษะการทำงาน
พัฒนาคุณภาพชีวิต
พัฒนาตำบลสู่ตำบล
สุขภาวะตามวิถีพอเพียง ”
องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม
อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
1
2
3
4
5
 
 
ฝรั่งชำแหละจำนำข้าวไทยทำ"ประเทศ"ขาดทุนยับ
รอยเตอร์สชำแหละนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลไทยล้มเหลวทำประเทศขาดทุน-เจอคู่แข่งแย่งตลาด แต่เลิกไม่ได้เพราะหวังคะแนนเสียง

ไคลด์ รัสเซลล์ นักวิเคราะห์ด้านการตลาดของสำนักข่าวรอยเตอร์ส แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์นโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทยผ่านทางบทความแสดดงความเห็นส่วนตัวว่า  ทางการไทยได้ปกปิดตัวเลขการขาดทุนและความล้มเหลวของนโยบายรับจำนำข้าวส่งออกข้าวในปีที่แล้วที่ลดลงจากปี 2554 ที่ 35%  และเชื่อว่ารัฐบาลจะเดินหน้าต่อไป เพราะรัฐบาลไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาที่ตัวเงินที่ขาดทุนอย่างมหาศาล แต่สนใจเฉพาะการได้มาซึ่งฐานคะแนนเสียงมากกว่าเท่านั้น

"ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่ล้มละลาย นโยบายเหล่านี้ก็จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ"รัสเซลล์ ย้ำ

ผู้เขียนระบุต่อว่า นโยบายการจำนำข้าวที่สูงกว่าราคาตลาดของรัฐบาลไทย โดยเฉลี่ยแล้วมีสูงกว่าราคาข้าวของ อินเดีย และเวียดนามถึง 37% ทำให้ 2 ประเทศดังกล่าวได้รับประโยชน์ และสามารถแซงไทยขึ้นมาเป็นผู้ค้ารายใหญ่ได้ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่าในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือน มี.ค.ที่จะถึงนี้ของอินเดียจะปริมาณการส่งออกข้าวสูงขึ้นถึง 8.5 ล้านตัน  ขณะที่ยอดส่งออกของเวียดนามอยู่ที่ 7.7 ล้านตัน

นอกจากนี้  แม้ว่ารัฐบาลไทยที่ปัจจุบันมีข้าวค้างอยู่ในสต็อกกว่า 12 ล้านตัน จะบอกว่าสามารถระบายได้ด้วยการทำสัญญาขายให้กับรัฐบาลต่างประเทศโดยตรงแบบ จีทูจี  ในปีนี้ แต่ตลาดยังคงมีความเคลือบแคลงสงสัยกันว่าจะทำได้อย่างราบรื่นไปได้ตลอดหรือไม่ เพราะด้วยราคาที่ขายนั้นมีราคาสูงกว่าตลาดมาก ทำให้ผู้ซื้อหันไปหาคู่แข่งอื่นๆและทำให้ไทยถูกแย่งตลาดไป

เห็นได้จากการที่รัฐบาลเคยประกาศว่าไว้เมื่อเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว ว่าได้ขายข้าวกว่า 7.3 ล้านตันแบบสัญญาจีทูจีแก่อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์แล้ว แต่ปรากฏว่าต่อมารัฐบาลทั้ง สองประเทศต่างออกมาปฏิเสธว่าไม่มีการลงนามในสัญญาดังกล่าวขึ้น ขณะที่ผู้ค้าข้าวต่างก็ไม่เคยเห็นว่ามีการนำข้าวลงเรือออกจากท่าเรือเลยแม้แต่น้อย

ไม่เพียงเท่านั้น แม้ว่ารัฐบาลไทยจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เพื่อขายข้าวกับทางการจีนในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่เห็นว่าจะมีการขนส่งข้าวใดๆทั้งสิ้น     อีกทั้งข้อมูลของทางการจีนก็ยังระบุอีกว่า การส่งออกข้าวไทยไปจีนในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 ลดลงถึง 51% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ขณะที่ การส่งออกข้าวของเวียดนามไปจีนในช่วงเดียวกัน เพิ่มขึ้น 568%  ทั้งนี้ ใน 11 เดือนแรกปีที่แล้ว การนำเข้าข้าวของจีนจากอาเซียนทั้งหมดคิดทั้งหมด 3 ใน 4 ของจำนวนการนำเข้าของข้าวจีนทั้งประเทศที่ 2.129 ล้านตัน

ดังนั้น ตัวเลขที่ออกมาจึงสะท้อนภาพชัดว่าการส่งออกข้าวไทยกำลังมีปัญหา เพราะถูกคู่แข่งแย่งตลาด และประเทศที่นำเข้าข้าวก็หันไปหาประเทศส่งออกอื่นที่ขายได้ถูกกว่า

ทั้งนี้ แม้ว่าแนวโน้มการนำเข้าข้าวจีนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเห็นได้จาก การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นถึง 311% ในช่วง 11 เดือนแรกปี 2555 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น  เพราะราคาภายในสูงกว่าราคานำเข้า แต่ประเทศอื่นๆอย่าง อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มการนำเข้าลดลง เนื่องจากข้าวในสต็อกและผลผลิตที่ออกมาในปีที่ผ่านมามีเพียงพอกับความต้องการในประเทศ

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยต้องการขายข้าวในสต็อกในโครงการับจำนำก็จะต้องยอมขายในราคาที่รับซื้อ ซึ่งนั่นก็หมายถึงต้องขายในราคาขาดทุน
ที่มา/http://www.posttoday.com/

เขียนโดย   คุณ คน เต้าข่าว
วันที่ 15 ม.ค. 2556 เวลา 06.06 น. [ IP : 125.26.115.172 ]
สัญญาณเตือนภัย : สิงคโปร์ลดกินข้าวไทย หันหาเวียดนาม, พม่า
สิงคโปร์ ไม่ปลูกข้าว และเคยกินข้าวไทยเป็นหลักมาช้านาน แต่หนังสือพิมพ์ Straits Times เพิ่งรายงานวันก่อนว่าผู้บริโภคบนเกาะแห่งนี้รู้สึกว่าข้าวไทยแพงขึ้นเรื่อยๆ...โดยเฉพาะแพงกว่าข้าวจากพม่าและเวียดนามแล้ว

สถิติของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของเขา รายงานว่าจากเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา คนสิงคโปร์ บริโภคข้าวไทย 115,504 ตัน ซึ่งเท่ากับประมาณ 35% ของข้าวที่ประเทศนั้นสั่งเข้าทั้งหมด

ถือว่าต่ำมาก และผู้นำเข้าข้าวไทยที่นั่นบอกว่าปริมาณนำเข้ากำลังจะถึงจุดต่ำสุดเท่าที่เคยมีมา

เมื่อราคาข้าวแพงขึ้นเรื่อยๆ พ่อค้านำเข้าข้าวที่สิงคโปร์ ก็เริ่มมองหาแหล่งที่ราคาถูกกว่าของไทย

พ่อค้านำเข้าข้าวคนหนึ่งบอกว่า ทุกวันนี้ ร้อยละ 20 ของข้าวที่นำเข้ามาจากเวียนดาม ทั้งๆ ที่เมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อนนี้ ข้าวจากเวียดนามอยู่ที่ 5% เท่านั้น
และเขาก็เริ่มสั่งข้าวจากกัมพูชา แทนจากประเทศไทย แล้วด้วย
พ่อค้าข้าวอีกรายหนึ่งบอกว่าร้านอาหารข้างถนนส่วนใหญ่ที่สิงคโปร์ ขณะนี้หันไปใช้ข้าวเวียดนามแทนข้าวไทยแล้ว

คนสิงคโปร์ ติดตามข่าวสารจากไทยก็รู้ว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาส่งออกข้าวแพงขึ้นก็เพราะนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลไทย

เขาเปรียบเทียบราคาข้าวไทยกับข้าวเวียดนามให้เห็นด้วยป้ายราคา

ข้าวหอมมะลิไทย Superior Fragrant หนึ่งถุง 10 กิโลกรัม ราคา 24.80 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 618 บาท)
ขณะที่ถุงขนาดเดียวกันข้าวเวียดนาม Vietnam Jasmine ราคาเพียง 15.50 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 387 บาท)
บางร้านที่เคยขายข้าวไทย 100% เมื่อห้าปีก่อนตอนนี้ลดลงเหลือ 70%

คงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่จะต้องลงไปสำรวจตลาดข้าวไทยในต่างประเทศเองว่าเป็นไปอย่างที่สื่อสิงคโปร์รายงานด้วยการไปตรวจตลาด และสัมภาษณ์ผู้นำเข้าและผู้บริโภคของเขาหรือไม่

หากคนสิงคโปร์ซึ่งมีรายได้ต่อหัวสูงอันดับต้นๆ ของอาเซียนเริ่มมีปฏิกิริยาต่อข้าวไทยอย่างนี้ ก็น่าเป็นห่วงว่าแนวโน้มอย่างนี้จะลามไปในประเทศอื่นๆ

ผมถือว่าข้าวไทยเป็น “แบรนด์” ประจำชาติที่มิใช่เป็นเพียงสินค้าบริโภคเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศอีกด้วย

ข้าวไทยหลุดจากตำแหน่งแชมป์โลก ศักดิ์ศรี และชื่อเสียงของประเทศไทยก็พลอยถูกกระทบไปด้วย

ปฏิบัติการ * * * ้ข้าวไทยก็เป็นแผนระดับชาติถึงขั้นต้องเปิด “war room” กันทีเดียวครับ...รายละเอียดข่าว
http://bit.ly/VkbwnS

เขียนโดย   คุณ Social News
วันที่ 17 ม.ค. 2556 เวลา 10.34 น. [ IP : 125.26.112.63 ]
ธ.ก.ส.เผยคลังเตรียมเพิ่มวงเงิน * * * ้อีก 7 หมื่นล้านบาท เป็น 2.2 แสนล้านบาท เพื่อให้ธ.ก.ส.นำไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าว
ธ.ก.ส.เผยคลังเตรียมเพิ่มวงเงิน * * * ้อีก 7 หมื่นล้านบาท เป็น 2.2 แสนล้านบาท เพื่อให้ธ.ก.ส.นำไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าว

ที่มา//http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance

เขียนโดย   คุณ Social News
วันที่ 19 ม.ค. 2556 เวลา 06.55 น. [ IP : 125.26.120.31 ]
  ในที่สุด โครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็เดินทางมาสู่ทางตัน เมื่อกระทรวงการคลัง ไม่ยอมขยายวงเงิน * * * ้มาให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ใช้สำหรับรับจำนำข้าวตามเป้าหมายที่จะต้องใช้จ่าย โดย ธ.ก.ส.เองก็ออกอาการร่อแร่ถังแตกให้เห็น
          ขณะที่นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อหมดปัญญาขายข้าวเอาเงินใช้หนี้ให้ธ.ก.ส. ก็ออกมาพาลปัดสวะให้พ้นตัว ไม่นับว่าข้าวที่จะรับจำนำไม่มีโกดังเก็บเพราะเต็มหมดแล้ว
          ปฏิบัติการทำลายการค้าข้าวอย่างเป็นระบบครบวงจรของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถึงนาทีนี้ต้องบอกว่า บรรลุผลสำเร็จอย่างงดงามสมปรารถนา
          ชาวนายากจน ชาวนารายเล็กรายย่อย ที่เช่าที่นาก็ล้มหายตายจากไปเพราะราคารับจำนำข้าวสูงขึ้น เจ้าของที่ดินก็ขึ้นค่าเช่า หรือไม่เช่นนั้นก็เลิกให้เช่าแล้วจ้างแรงงานมาทำนาเพื่อจะได้ขายข้าวในราคาจำนำเสียเอง ขณะที่ต้นทุนค่าทำนาแพงขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ที่ไปดันให้ราคาสินค้าทุกชนิด ซึ่งหมายรวมถึงปัจจัยการผลิตในการทำนาพุ่งสูงขึ้น
          ชาวนาที่ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าว ยิ่งนานก็ยิ่งหลงเหลือเพียงชาวนาร่ำรวยที่สามารถกอบโกยจากนโยบายนี้ เช่นเดียวกันกับโรงสี และผู้ส่งออกข้าวกลุ่มใหม่ที่อยู่ในเครือข่ายของรัฐบาลที่มีโอกาสเข้าร่วมโครงการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสารและสามารถประมูลข้าวจากรัฐบาลได้ และอิ่มเอมกันถ้วนหน้า
          ขณะที่ภาระด้านการเงินที่ใช้ในโครงการรับจำนำข้าวที่ตกประมาณ2 แสนล้านบาท ต่อฤดูกาลผลิต เป็นหนี้สินของประเทศที่คนไทยทุกคนต้องแบกรับร่วมกัน
          เมื่อถึงเวลาเดินมาถึงทางตันเช่นนี้แล้ว ถามว่าจะมีใครหน้าไหนออกมาแสดงความรับผิดชอบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะนายบุญทรง นั้น เพียงแค่นี้ก็เห็นกิริยาอาการส่อแสดงออกอย่างชัดเจนว่าพร้อมชิ่งหนีปัญหา ปัดสวะให้พ้นตัว
          กรณีที่เกิดขึ้นล่าสุด เมื่อกระทรวงการคลัง มีคำสั่งให้ ธ.ก.ส.ทำหนังสือทวงหนี้กระทรวงพาณิชย์ ที่ค้างเงินจากการระบายข้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่กระทรวงพาณิชย์ ต้องจ่ายเงินให้ธ.ก.ส. จำนวน 8.5 หมื่นล้านบาท แต่ถึงตอนนี้ยังจ่ายไม่ครบ ธ.ก.ส.ได้มาเพียง 5.8 หมื่นล้าน
          เพียงเท่านั้น นายบุญทรง ถึงกับปรี๊ดสวนกลับทันทีว่า คณะรัฐมนตรี ให้กระทรวงการคลัง หาเงิน * * * ้ให้ ธ.ก.ส. จำนวน1.5 แสนล้านบาท เพื่อใช้ในการดูแลราคาสินค้าเกษตรของปี 2555/2556 รวมถึงโครงการรับจำนำข้าวเปลือกด้วย แต่กระทรวงการคลังยังไม่ได้ดำเนินการ
          “การ * * * ้เงินให้ ธ.ก.ส.มาใช้ในโครงการรับจำนำข้าว กับเงินที่ได้จากการระบายสต๊อกข้าว ถือเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งมองว่าหน้าที่ใครก็ทำหน้าที่ของตนเองไป กระทรวงการคลังมีหน้าที่ * * * ้เงินให้ ธ.ก.ส.ไปจ่ายเงินให้เกษตรกรที่นำข้าวมาขายในโครงการรับจำนำ ก็ต้องเร่งดำเนินการไม่ใช่มีหน้าที่มาทวงเงินจากกระทรวงพาณิชย์” นายบุญทรง โบ้ยบ้ายให้เรื่องพ้นตัว
          ส่วนสาเหตุที่กระทรวงพาณิชย์ ยังส่งเงินไม่ได้ตามแผนนั้น นายบุญทรง แก้ตัวว่า ก่อนหน้านี้ที่ส่งเงินคืนไม่ได้ตามแผน เพราะได้สั่งชะลอการส่งมอบข้าวให้รัฐบาลผู้ซื้อ เนื่องจากต้องรอผลการสอบการขายข้าวในรูปรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ก่อน แต่ขณะนี้ได้สอบเสร็จแล้ว และคาดว่าจะส่งเงินคืนได้ตามแผนต่อไป ขณะนี้กำลังเร่งระบายข้าวอยู่ และสั่งให้คืนเงินทุกเดือน โดยในเดือนมกราคมนี้ จะคืน 1.2 หมื่นล้าน และภายในสิ้นปีนี้ต้องคืน 2.6 แสนล้าน
          เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ฝ่ายค้านที่คอยจ้องอยู่แล้วออกมากระหน่ำทันที โดยนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ชี้ว่า การที่ธ.ก.ส.ทวงเงินกระทรวงพาณิชย์ให้เร่งจ่ายเงินระบายข้าวเพื่อธนาคารจะได้นำไปหมุนเวียนในโครงการรับจำนำ สะท้อนถึงความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะโครงการนี้ทำให้ข้าวไทยแพงกว่าต่างประเทศกว่า 100 เหรียญจนผู้ส่งออกขายข้าวไม่ได้ รัฐบาลไม่สามารถระบายข้าวได้ตามเป้าหมายจึงไม่มีเงินใช้หนี้ ธ.ก.ส. ดังนั้นแทนที่นายบุญทรง จะแสดงความไม่พอใจต่อ ธ.ก.ส.น่าจะหาทางระบายข้าวและจ่ายเงินให้ ธ.ก.ส.โดยด่วนจะดีกว่า และอยากถามนายบุญทรงว่า ที่ไม่รีบเพราะมีเรื่องเงินใต้โต๊ะอยู่ใช่หรือไม่
          การโยนเรื่องให้กันไปมาระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และธ.ก.ส. แบงก์รัฐที่ถูกดึงเข้าร่วมโครงการรับจำนำครั้งนี้ บ่งบอกว่าแผลเน่าเริ่มปริแตกจนไม่อาจปกปิดได้อีกต่อไป หลังจากที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่าจะเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวต่อไปและไม่ได้มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นจนทำให้ต้องล้มเลิกโครงการ ดังที่หลายฝ่ายส่งเสียงเตือนให้หยุดยั้งและทบทวนหาแนวทางช่วยเหลือชาวนายากจนเสียใหม่ที่ได้ผลดีกว่าและไม่ต้องใช้จ่ายเงินมากมายขนาดนี้

          แล้วทีนี้รัฐบาลจะเอาอย่างไรต่อไป !!!

เขียนโดย   คุณ Social News
วันที่ 31 ม.ค. 2556 เวลา 05.17 น. [ IP : 125.26.125.94 ]
ห่วงเปิดอาเซียนเกษตรกรไทยไม่รอด รายได้แค่ปีละแสน คุณภาพข้าวโดนแซงหน้า ประชานิยมแก้ไม่ตรงจุด แนะเกษตรรายย่อยรวมกลุ่มเน้นสินค้าคุณภาพ–ตลาดเฉพาะ-เติมงบวิจัยเกษตร
วันที่ 6 ก.พ. 56 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) บางเขน มีการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 51 เนื่องในงานวันเกษตรแห่งชาติ’2556 โดยมีการบรรยายพิเศษเรื่อง ‘วิถีประชา...เกษตรไทยกับคุณภาพชีวิตสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน’

โดยรศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมาแนวโน้มการพัฒนาและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมไทยมีมากกว่าภาคเกษตรอย่างเห็นได้ชัด เห็นได้จากมูลค่าการส่งออกในปี 2554 ซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรม 6,882.64 ล้านบาท และสินค้าเกษตรเพียง 987.52 ล้านบาท  ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อปีต่อครัวเรือนของเกษตรกรอยู่ที่ปีละ 110,700 บาท (ปี 2554) แบ่งเป็นรายได้ในภาคเกษตรร้อยละ 40 และรายได้นอกภาคเกษตรร้อยละ 60  จึงสะท้อนให้เห็นว่าภาคการเกษตรไทยกำลังถูกทอดทิ้ง

ขณะที่การแข่งขันในภาคเกษตรของตลาดโลกและอาเซียนในอนาคต ตลาดมีแนวโน้มต้องการสินค้าที่ปลอดภัยมีคุณภาพมากขึ้น  เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ จากระบบเศรษฐกิจสีเขียว  ซึ่งแม้ไทยจะมีนโยบายที่ส่งเสริมแต่ในทางปฏิบัติรัฐกลับดำเนินการสวนทางโดยเน้นแต่นโยบายประชานิยมที่ไม่ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าคุณภาพอย่างแท้จริง เช่น โครงการรับจำนำข้าว 1.5 หมื่นบาท รับจำนำแต่ข้าวเคมีแต่ไม่รับจำนำข้าวอินทรีย์คุณภาพปลอดสารพิษด้วย

นอกจากนี้การลงทุนของรัฐบาลในการศึกษาวิจัยด้านการเกษตรที่ต่ำยังส่งผลกระทบต่อการเพิ่มผลิตภาพและศักยภาพในการแข่งขันในอาเซียน โดยพบว่างบประมาณวิจัยการปลูกข้าวต่อปี 185 ล้านบาทนั้น เมื่อเทียบกับพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ 69 ล้านไร่  คิดเป็นงบวิจัย 3 บาทต่อปีต่อไร่เท่านั้น  ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคอย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น สิงค์โปร  และฮ่องกง  โดยยังมีความกังวลว่าในอนาคตปัญหาโลกร้อนอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิของโลกจะเปลี่ยนไปอีก 4 องศาในระยะเวลาไม่กี่ปีนั้นจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงตามมา ปัญหาที่กระทบต่อภาคเกษตรไทย คือ เกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีกำลังและศักยภาพในการฟื้นฟูที่ทำกินเท่าธุรกิจเกษตรรายใหญ่จะอยู่รอดยาก

รศ.สมพร กล่าวต่อว่า ดังนั้นหนทางที่จะทำให้ภาคการเกษตรไทยเติบโตและอยู่รอดได้ในเออีซี  คือ การส่งเสริมความรู้และงานวิจัยด้านเทคโนโลยี เช่น ไบโอเทคโนโลยี นาโนเทคโนโลยี เพื่อสร้างศักยภาพและขยายโอกาสทางการแข่งขัน  นอกจากนี้จะต้องมีกระบวนการที่ทำให้เกษตรกรรายย่อยรวมกลุ่มกันสร้างความเข้มแข็งในชุมชน โดยผลิตสินค้าคุณภาพที่มีเอกลักษณ์สนองความต้องการของตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือ นิชมาร์เก็ต (Niche Market) เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การปลูกข้าวอินทรีย์ของชาวยโสธรที่ส่งขายต่างประเทศได้ราคาถึงกิโลกรัมละ 100 บาท  นอกจากนี้ชุมชนเมืองจะต้องสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยด้วยการซื้อสินค้าเกษตร จากเกษตรกรรอบบริเวณชุมชน  โดยเชื่อว่าแนวทางดังกล่าวนี้จะเป็นหนทางที่ช่วยให้เกษตรกรรายย่อยของไทยอยู่รอดได้ในภาวะการแข่งขันทางตลาดที่รุนแรงของอาเซียนและโลก

ด้านดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) มีแนวโน้มว่าภาคเกษตรกรรมจะได้รับผลกระทบในทางลบมาก  โดยเห็นว่าไทยเสียเปรียบจากความพยายามในการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน(ตั้งแต่ 1 ม.ค. 53) เนื่องจากไทยส่งออกไปขายยังประเทศอาเซียนอื่นได้ยากเพราะแม้จะปลอดภาษีแต่หลายประเทศตั้งกำแพงทางการค้าสูง ขณะที่กฎเกณฑ์หรือกำแพงทางการค้าของไทยกลับเปิดกว้างมากที่สุด  ตัวอย่างเช่นที่ผ่านมามีการเปิดการค้าเสรีแบบทวิภาคีกับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีข้อตกลงแลกเปลี่ยนให้ไทยส่งออกอะไหล่รถยนต์  ขณะที่นำเข้าน้ำนมโคจากออสเตรเลียนั้น  ซึ่งหากดูผิวเผินไทยมีความได้เปรียบดุลการค้าเพราะขายสินค้าได้มูลค่ามากกว่า แต่ในความจริงกลับพบว่าผู้ประกอบการที่ส่งออกอะไหล่รถยนต์มีเพียงไม่กี่ราย แต่เกษตรกรโคนมส่วนใหญ่ทั่วประเทศต้องเดือดร้อนเพราะไม่สามารถขายน้ำนมสู้ออสเตรเลียได้

จากการศึกษาวิจัยจึงพบว่าปัจจุบันเหลือเกษตรกรไทยที่มีความภาคภูมิใจและมีลูกหลานสืบทอดอาชีพเกษตรอยู่เพียงร้อยละ 0.9 แสดงให้เห็นว่าในจำนวนเกษตรกร 100 คน มีไม่ถึง 1 คนที่มีทายาทสานต่ออาชีพ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบการศึกษาภาคเกษตรทั้งระบบ โดยพบว่าช่วงเวลาในการศึกษาของเกษตรกรไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.1 ปี ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในกลุ่มเกษตรกรอาเซียน นอกจากนี้เกษตรกรไทยยังมีหนี้สินมากที่สุด ต้นทุนการผลิตสูงและมีกำไรต่ำที่สุดด้วย  ขณะที่ด้านคุณภาพของสินค้าสำคัญอย่างข้าว ไทยก็ยังเป็นรองเพื่อนบ้าน โดยข้าวหอมมะลิของพม่าโค่นแชมป์ข้าวไทยกลายเป็นข้าวหอมที่คุณภาพดีที่สุดในโลกแล้ว(เมื่อปี2554  ขณะที่กัมพูชาครองแชมป์เมื่อปี 2555) ในการประกวดสุดยอดข้าว

โดยเห็นว่าแนวทางแก้ไขหรือปรับตัวที่จะทำให้ภาคเกษตรไทยอยู่รอดได้ในภาวะที่กำลังก้าวสู่เออีซี  คือ การทำมาหากินโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ใช้ระบบคุณธรรมนำระบบการค้าเสรี และในส่วนของมหาวิทยาลัยแต่ละพื้นที่จะต้องบริการความรู้สนับสนุนการวิจัยเพื่อทำให้เกษตรกรและประชาชนรู้เท่าทันถึงผลกระทบด้านบวกและลบของการเข้าสู่เออีซีด้วย
http://isranews.org

เขียนโดย   คุณ คน เต้าข่าว
วันที่ 7 ก.พ. 2556 เวลา 07.04 น. [ IP : 125.26.122.122 ]
Cr Siriwanna Jill
นักข่าวรอยเตอร์ ประจาน นโยบายจำนำข้าว อีกแล้วคะ คราวนี้ นายไคลด์ รัสเซลล์ นักวิเคราะห์ด้านการตลาด ของสำนักข่าวรอยเตอร์ส วิพากษ์ วิจารณ์นโยบายรับจำนำข้าว ของรัฐบาลไทย ผ่านเฟส ว่า รัฐบวมปูสไกป์ ตกอยู่ ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก กับนโยบายนี้ เพราะปีที่แล้ว เป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ เสียชื่อไปทั่วโลก" เสียหายไปแล้ว 8 หมื่นล้านบาท" เพราะมุ่งแต่หวังผลทางการเมือง

ทางการไทยได้ปกปิดตัวเลข การขาดทุนและความล้มเหลว ของนโยบายรับจำนำข้าวส่งออกข้าวในปีที่แล้ว ที่ลดลงจากปี 2554 ที่ 35% และเชื่อว่ารัฐบาล จะเดินหน้าต่อไป เพราะรัฐบาลไทย ไม่ได้ให้ความสำคัญ กับปัญหาที่ตัวเงินที่ขาดทุนอย่างมหาศาล แต่สนใจเฉพาะการ ได้มาซึ่งฐานคะแนนเสียงมากกว่าเท่านั้น

ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่ล้มละลาย นโยบายเหล่านี้ก็จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ !!

นโยบายการจำนำข้าว ที่สูงกว่าราคาตลาด ของรัฐบาลไทย โดยเฉลี่ยแล้วมีสูงกว่าราคาข้าว ของ อินเดีย และเวียดนามถึง 37% ทำให้ 2 ประเทศ ได้รับประโยชน์ และสามารถแซงไทย ขึ้นมาเป็นผู้ค้ารายใหญ่ได้ ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่าในปีงบประมาณ สิ้นสุดเดือน มี.ค.ที่จะถึงนี้ ของอินเดียจะปริมาณ การส่งออกข้าวสูงขึ้นถึง 8.5 ล้านตัน ขณะที่ยอดส่งออกของเวียดนามอยู่ที่ 7.7 ล้านตัน

ปัจจุบัน ไทยมีข้าวค้างอยู่ในสต็อกกว่า 12 ล้านตัน บอกว่าสามารถระบายได้ด้วย การทำสัญญาขาย ให้กับรัฐบาลต่างประเทศ โดยตรงแบบ จีทูจี ในปีนี้ แต่ ด้วยราคาที่ขายนั้นมีราคาสูงกว่า ตลาดมาก ทำให้ผู้ซื้อหันไปหาคู่แข่ง อื่นๆและ ทำให้ไทยถูกแย่งตลาดไป

เมื่อเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว คุยว่าได้ขายข้าวกว่า 7.3 ล้านตันแบบสัญญาจีทูจีแก่อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์แล้ว แต่รัฐบาล ทั้งสองประเทศ ต่างออกมา ปฏิเสธ ขณะที่ผู้ค้าข้าวต่าง ก็ไม่เคยเห็นว่ามีการนำข้าวลงเรือ ออกจากท่าเรือเลยแม้แต่น้อย ไม่เพียงเท่านั้น แม้ว่ารัฐบาลไทย จะมีการลงนาม เอ็มโอยู เพื่อขายข้าวกับทางการจีน ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่เห็นว่าจะมีการขนส่งข้าวใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งข้อมูลของทางการจีน ก็ยังระบุอีกว่า การส่งออกข้าวไทย ไปจีนในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2555 ลดลงถึง 51% จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้า

ขณะที่ การส่งออกข้าวของเวียดนามไปจีน ในช่วงเดียวกัน เพิ่มขึ้น 568% ทั้งนี้ ใน 11 เดือนแรกปีที่แล้ว การนำเข้าข้าวของจีน จากอาเซียนทั้งหมดคิดทั้งหมด 3 ใน 4 ของจำนวนการนำเข้า ของข้าวจีนทั้งประเทศที่ 2.129 ล้านตัน

ตัวเลขที่ออกมาจึงสะท้อนภาพ ชัดว่าการส่งออกข้าวไทย กำลังมีปัญหา เพราะถูกคู่แข่งแย่งตลาด และประเทศที่นำเข้าข้าว ก็หันไปหาประเทศส่ง ออกอื่น ที่ขายได้ถูกกว่า หากรัฐบาลไทยต้องการขายข้าว ในสต็อกในโครงการับจำนำ ก็จะต้องยอมขายใน ราคาที่รับซื้อ ซึ่งนั่นก็หมายถึงต้องขายในราคาขาดทุน

เขียนโดย   คุณ Social News
วันที่ 10 ก.พ. 2556 เวลา 15.47 น. [ IP : 125.26.123.9 ]
"ข้าวเน่า" ผลงานรอบปีรัฐบาล
โต้ง-เขียนจดหมายถึงโกร่ง โกร่งเขียนจดหมายถึงโต้ง และทั้งโต้ง-ทั้งโกร่ง เป็นผลิตผลชายกระโปรงยิ่งลักษณ์ทั้งคู่ เข้าใจเล่นกันดีนะ แต่ผมมองว่า นี่คือการส่งสัญญาณ "หนี้จะล้นประเทศแล้ว" จึงเตรียมหาแพะไว้ล่วงหน้า ฉวยจังหวะตอนแบงก์ชาติไม่ยอม "ลดดอกเบี้ยนโยบาย" ชนิดผลีผลามตามที่รัฐบาลต้องการ ไอ้แก่มากกับไอ้แก่น้อย จึงออกลีลาเอาตัวรอด โยนอุจจาระนำทางไปที่แบงก์ชาติแต่เนิ่นๆ ว่า...ถ้าเศรษฐกิจพังล่ะก็ แบงก์ชาตินั่นแหละต้องรับผิดชอบ เพราะบอกให้ลดแล้วไม่ยอมลด!
    ตอนนี้ "แบงก์รัฐ" ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือประชานิยมอยู่ระหว่างให้ออกซิเจนแล้ว ๒ แบงก์ แบงก์อิสลามแห่งประเทศไทย กับแบงก์เอสเอ็มอีอย่างที่เป็นข่าวนั่นแหละ หมอถอดสายออกนาทีไหน ก็หมดลมนาทีนั้น
    นี่เป็น "มรณานุสติ" ที่คนไทยทุกคนดูแล้วสังวรไว้ แบงก์รัฐตั้งขึ้นด้วยเงินภาษีทุกบาท-ทุกสตางค์ ประชานิยมถล่มกันซะคาที่ นักกินเมืองไม่เดือดร้อน อิ่มหมีพีมัน อ้วนท้วนหน้ากลมเป็นซาลาเปาเหมือนเดิม แต่พวกเรา-ชาวบ้าน ก็แบกรับหนี้แทนกันเหมือนเดิม
    ธ.ก.ส.ปราการด่านหน้าประชานิยม "รับจำนำข้าวทุกเม็ดเกวียนละ ๑๕,๐๐๐" จะเป็นรายต่อไปหรือไม่ อยากรู้ให้จุดธูปถามสัมภเวสีหน้าเหลี่ยมดู ผมเห็นมีแต่ควักออกไป แต่ที่ไหลกลับเข้ามาแทบไม่เห็น เพราะข้าวไปอัดแน่นเลี้ยงหนู-เลี้ยงมอด อยู่ตามโกดังเต็มบ้านเต็มเมือง!
    ก็เพิ่มทุนกันไปเถอะ ฉิบหายก็เงินของพ่อ-ของแม่ใครในรัฐบาลที่ไหนล่ะ รัฐบาลชุดต่อๆ ไปก็รับภาระหนี้สินไป รับภาระยังไง...ก็ภาระรีดภาษีจากประชาชนมาเป็นงบประมาณไปใช้หนี้บ้าง ไปกินกันเป็นทอดๆ ต่อไปบ้างไงล่ะ
    นี่ล่ะ...ประเทศไทยล่ะ!
    ผมไปทางนครปฐม พรรคพวกเขาบอกว่า...โฮ้ย...ยุคยิ่งลักษณ์-ทักษิณนี่มันดีจริงๆ ไม่ต้องทำอะไร แค่หาที่สร้างโกดังเก็บข้าวรัฐบาลอย่างเดียวก็รวยไม่รู้เรื่อง เข้าช่องให้ถูกเท่านั้นแหละ
    ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะเสาร์ที่แล้ว พบแจ้งความขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ในแมกกาซีนฉบับหนึ่ง เขาล้อมกรอบด้วยข้อความว่า
    "ประกาศเช่าคลังสินค้าเพื่อใช้เก็บรักษาข้าวสาร"!
    แถมย้ำว่า "ข้าวสารจำนวนมาก" ซะด้วย เพราะอย่างนี้เอง แถวๆ นครปฐมคง "เข้าช่องถูก" เพราะการสร้างโกดังรับจ้างเก็บข้าวสารให้รัฐบาลกำลังเป็นธุรกิจใหม่ที่ฮิตและฮือฮากันมากในย่านเขตอำนาจรัฐบาลแดง
    ตะลอนไปบางอำเภอทางสระบุรี เห็นชาวบ้านกำลังสูบน้ำจากป่าสักขึ้นมาทำนาตอนเดือนกุมภา ก็เลยไปคุยกะเขา เขาก็ว่า...ต้องเอาครับ เกวียนละตั้งหมื่นห้า
    ถามเขาว่า "ขายได้หมื่นห้าจริงๆ หรือ?" เขาก็ตอบว่า แค่หมื่น ๒ หมื่น ๓ ก็ดีถมไปแล้ว ผมก็ลองแย้งว่า "อ้าว...รัฐบาลเขารับจำนำ ๑๕,๐๐๐ นะ" ชาวนายุคทักษิณคิด-ยิ่งลักษณ์ทำก็ตอบว่า
    "โรงสีเขาได้ พวกผมทำนาไม่ได้หรอก"!?
    ตรงนี้ไม่แปลก เป็นที่รู้ทั่วไปอยู่แล้ว ๑๕,๐๐๐ นั้น เป็นราคาโรงสีระบอบทักษิณขายให้กับรัฐบาลระบอบทักษิณ รวมหัวกันต้มยำประเทศ ส่วนชาวนาที่ขายให้โรงสีนั้น ๘,๐๐๐-๑๓,๐๐๐ ถือว่าบุญท่วมหัวแล้ว
    ผมนี้แค้นทุกครั้งที่กินข้าวตามร้าน โดยเฉพาะร้านข้าวแกง เป็นคนในประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตข้าวคุณภาพของโลก แต่ทุกวันนี้...สั่งข้าวแกงจาน ข้าวนั้น เหมือนเอาข้าวหมูมาหุงขาย ร่วนซุย หักไม่เป็นเม็ด ยางข้าวไม่มี ตักเข้าปากเหมือนกินฟาง
    ไม่มีอีกแล้วในประเทศไทย ที่จะได้เห็น-ได้กินข้าวที่ยกมาตั้ง ข้าวเป็นตัว กอดเม็ดขาวด้วยยางข้าวใหม่ ส่งกลิ่นกรุ่น ระเหยหอมลอยคลุกเคล้ามากับควันข้าวคุณภาพไทย คนไทยวันนี้ต้องกินข้าวหัก ข้าวเก่า ข้าวผสมปนเปจนแยกพ่อ-แยกแม่ไม่ออก
    ดีอยู่หน่อย "ผสมซากมอด" เพิ่มโปรตีนให้ด้วย น้ำซาวข้าวเดี๋ยวนี้ นำไปดองผักเสี้ยน ผักกุ่มอะไรก็ไม่ได้ จะหุงแบบดงเอาน้ำข้าว น้ำข้าวก็ไม่มียาง อย่าว่าแต่คนเลย ให้หมามันก็ไม่กินแล้ว ซาวแต่ละที ต้องนั่งเก็บแกลบ กรวด ขี้หนู ขี้ตีนนักการเมืองอีกตะหาก
    กินข้าวเขมร "รุ่นใหม่" ดีกว่า นักบริโภคเขาว่างั้นนะครับ เพราะข้าวปลูกในเขมรวันนี้ ก็พวกเราคนไทยนี่แหละ เอาพันธุ์ดีๆ จากบ้านเราไปแพร่พันธุ์ให้เขา
    นาบ้านเขาทิ้งร้างมานาน เนื้อนาจึงอุดมแร่ธาตุ ซ้ำเก็บเกี่ยวตามเวลา จึงได้ผลผลิตคุณภาพมาตรฐาน ไม่ใช่ปลูกเอาปริมาณ ข้าวยังไม่แก่ก็เกี่ยว คนละเกรด-คนละพันธุ์ก็เอามาผสมให้ได้เกวียนเอาขายให้โรงสีเอาไปสมคบรัฐบาลปอกลอกประเทศ
    รัฐบาลไม่เจ๊งหรอก มันอยู่หากินเดี๋ยวๆ แล้วก็ไป ประเทศนั่นแหละจะเจ๊ง เนี่ย...ดูซี องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เขารายงานว่า.........
    "ปริมาณข้าวในสต็อกของไทยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปี ๒๕๕๖ จากผลพวงนโยบายรับจำนำข้าว ซึ่งอาจทำให้ไทยขาดแคลนโกดังเก็บข้าว โดยปริมาณข่าวในสต็อกซึ่งเคยอยู่ที่เฉลี่ย ๕.๔ ล้านตัน ระหว่างปี ๕๑-๕๓ ตอนนี้พุ่งไปแตะ ๗.๘ ล้านตัน ในปี ๒๕๕๔ และคาดว่าในปี ๒๕๕๖ นี้ ปริมาณข้าวที่สีแล้วจะพุ่งสูงถึง ๔๐% จากปีก่อนไปทะลุที่ ๑๘.๒ ล้านตัน"
    ๑๘.๒ ล้านตันที่รัฐบาลผูกขาดกว้านซื้อด้วยอ้างรับจำนำไว้แต่ผู้เดียวนี้ ยังไม่รวมข้าวเขมร-ลาว-พม่า ที่ลักลอบนำเข้ามาขาย ปีนี้คาดว่าประมาณ ๗.๕ แสนตัน รัฐบาลซื้อแพงกว่าตลาดแล้ว ขายเอาแค่เสมอตัว หรือให้ขาดทุนน้อยก็ยังไม่ได้
    เพราะเหตุนี้ อย่างที่คนนครปฐมว่า ธุรกิจอะไรมันจะดีไปกว่าสร้างโกดังรับจ้างรัฐบาลเก็บข้าว รวย ๓ ต่อ ต่อแรกจากค่ารัฐบาลเช่า ต่อที่สองค่าซื้อถูกจากชาวนา และต่อที่สาม ค่าเอาไปขายแพงให้รัฐบาล!
    "คุณจตุพล สันตะกิจ" เขียนรายงานด้วยข้อมูลธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ไว้ที่โพสต์ทูเดย์วันก่อนว่า
    "โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/2555 มีข้าวเปลือกเข้าโครงการ 6,979,681.61 ตัน เงินที่จ่ายให้เกษตรกร 118,535.238 ล้านบาท โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 มีข้าวเปลือกเข้าโครงการ 14,727,468.15 ตัน เงินที่จ่ายให้เกษตรกร 218,196.478 ล้านบาท
    และโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/2556 พบว่า ณ วันที่ 4 ก.พ. 2556 มีข้าวเปลือกเข้าโครงการ 8,233,273 ตัน เงินที่จ่ายให้เกษตรกร 132,555.690 ล้านบาท
    สรุปแล้ว ตั้งแต่เริ่มโครงการรับจำนำข้าวเปลือกวันที่ 7 ต.ค. 2554 - ก.พ. 2556 รัฐบาลรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรมาเก็บไว้ในสต็อกแล้ว 29.94 ล้านตัน และจ่ายเงินแล้ว 4.69 แสนล้านบาท ไม่รวมค่าบริหารโครงการไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีข้าวสารเก็บไว้ในสต็อก 17-18 ล้านตัน"
    ถามว่า...เก็บไว้ทำไม คำตอบคือ...ก็ขายไม่ได้น่ะซีโว้ย ก็จะขายได้ยังไงในเมื่อข้อมูล FAO ระบุ ๕ ก.พ.๕๖ ข้าว ๕% ของไทย ๕๙๙ เหรียญยูเอสต่อตัน ในขณะที่ข้าว ๕% ของญวน ๓๘๕ เหรียญยูเอสต่อตัน ข้าว ๕% ของอินเดีย ๔๓๐ เหรียญยูเอสต่อตัน และข้าว ๕% ของปากีสถาน ๔๒๐ เหรียญยูเอสต่อตัน
    ในขณะที่ก่อนมีโครงการรับจำนำข้าวเปลือก พบว่าข้าว ๕% ของไทย เฉลี่ยปี ๕๕ อยู่ที่ ๕๗๓ เหรียญยูเอสต่อตัน ข้าว ๕% ของญวน ๔๓๒ เหรียญยูเอสต่อตัน และข้าวขาว ๕% ของอินเดีย ๔๓๕ เหรียญยูเอสต่อตัน
    จะเห็นว่า ข้าวไทยแพงกว่าข้าวญวนและอินเดียเกือบ ๑๕๐ เหรียญยูเอสต่อตัน แบบนี้ใครล่ะจะซื้อ แล้วจะมาโทษดอลลาร์แข็ง-บาทอ่อน ทำให้สินค้าส่งออกแข่งขันกับใครไม่ได้ แล้วพาโลบีบบังคับให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย!
     * * * นัก แล้วดูซี ปีที่แล้ว ๒๕๕๕ เราส่งออกข้าวได้แค่ ๖.๙๔ ล้านตัน แต่อินเดียส่งออกได้ ๙.๗๕ ล้านตัน และญวนส่งออกได้ ๙.๔ ล้านตัน แต่ยังมีหน้าพลิกตัวเลข * * * ...ส่งออกจำนวนน้อย แต่ตัวเงินได้มากกว่า
    ขอถามว่า แล้วมันคุ้มมั้ย กับข้าวที่ซื้อมาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ แต่ต้องเก็บไว้เน่าคาโกดังอีกร่วม ๒๐ ล้านตัน ไอ้หนุ่มมากกับไอ้แก่น้อยขุนพลเศรษฐกิจข้างกระโปรงยิ่งลักษณ์ ลองเอาตัวเลขไปคำนวณดูซิ ได้เท่าไหร่แล้วบวกค่าบริหารโครงการเข้าไปอีก ๕ หมื่นล้าน
    ๕ แสนล้าน รัฐบาลขายแบบเจ๊ทูเจี๊ยะได้เงินคืน ธ.ก.ส.ซักกี่ล้าน แล้วทักษิณสั่งให้เดินหน้าซื้อข้าวเก็บไว้อย่างนี้ไปอีกหลายปี ถามว่า ธ.ก.ส.เจ๊งก่อน หรือรัฐบาลเจ๊งก่อน หรือประเทศพังก่อน?.
เปลว สีเงิน นสพ.ไทยโพสต์

เขียนโดย   คุณ คน เต้าข่าว
วันที่ 12 ก.พ. 2556 เวลา 20.44 น. [ IP : 125.26.126.50 ]
“ยิ่งลักษณ์” ยึด “ธ.ก.ส.” เบ็ดเสร็จ ตั้งบอร์ดใหม่อุดมไปด้วยพวกพ้อง ทั้ง “อดีต ส.ส.สอบตก-หัวหน้าทีมทนายคดีดาบยิ้ม-ยรรยง พวงราช” พาเหรดยึด เชื่อหวังใช้เสียงข้างมากลากจำนำข้าวต่อเนื่อง มาร์คเตือนหากแบงก์เจ๊ง รัฐบาลปัดความรับผิดชอบไม่พ้น
เมื่อวันอังคาร ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเดิมมีกระแสข่าวว่ากระทรวงการคลังจะเสนอให้ ครม.เห็นชอบสั่งให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ใช้สภาพคล่องของธนาคารเพิ่มเติมอีก 6 หมื่นล้านบาท มาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวฤดูการผลิตข้าวนาปรัง 2555/2556 ที่กำลังจะเริ่มในเร็วๆ นี้ เนื่องจากเงินไม่เพียงพอนั้น ไม่ได้มีการเสนอแต่อย่างใด โดยมีเพียงการเสนอให้แต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการ (บอร์ด) ธ.ก.ส.เท่านั้น
โดยที่ประชุมได้เห็นชอบแต่งตั้ง นายชวลิต ชูขจร ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ ส่วนกรรมการประกอบด้วย นายมนัส แจ่มเวหา ผู้แทนกระทรวงการคลัง, นายสมชาย ชาญณรงค์กุล ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์, นายวีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย, นายประยูร รัตนเมธาง * * * ร ผู้แทนสหกรณ์การเกษตรผู้ถือหุ้น, นายสมหมาย  * * * ้ทรัพย์, นายธนรัชต์ วิเชียรรัตน์, นายวีรพล ปานะบุตร, นายวศิน ธีรเวชญาณ, นายวิรัติ ศักดิ์จิรพาพงษ์, นายทวีป ตันพิพัฒนกุล และนายยรรยง พวงราช อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. ส่วนนายวีรพล อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลปกครอง สำนักงานอัยการสูงสุด ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติจาก ก.อ.เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามนัยมาตรา 67 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553
    รายงานข่าวแจ้งว่า การแต่งตั้งบอร์ด ธ.ก.ส.ครั้งนี้ น่าสังเกตว่าเป็นการตั้งเพื่อมาควบคุมธนาคารโดยเฉพาะ  เพราะมีการตั้งบุคคลที่ใกล้ชิดรัฐบาลอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นนายยรรยง ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพรรคประชาธิปัตย์ และเคยวิวาทะกับนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษก ปชป.มาแล้ว ในขณะที่นายสมหมายนั้น ก็เป็นทนายดังของครอบครัว ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ โดยเฉพาะคดีดาบยิ้มที่นายสมหมายเป็นหัวหน้าทีม ส่วนนายธนรัชต์นั้นเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และก่อนหน้านี้ก็ได้รับการแต่งตั้งบอร์ดโรงงานยาสูบมาแล้ว
    รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นายวศินนั้นเป็นอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซล เกาหลีใต้ ซึ่งรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้แต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) เพื่อทำหน้าที่การเจรจาในกรอบเจเบีซีกับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างมากว่าเข้าข้างฝ่ายกัมพูชาอยู่เสมอ ด้านนายวิรัตินั้นก็เป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2544 ซึ่งแพ้เลือกตั้งให้กับ ปชป. ในขณะที่นายทวีปเป็นที่ปรึกษา ส.ส.อุตรดิตถ์ ซึ่งปัจจุบันก็เป็นบอร์ดของโรงงานยาสูบด้วย
    รายงานแจ้งว่า บอร์ดของ ธ.ก.ส.มีทั้งสิ้น 15 ราย โดยมีนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.การคลัง เป็นประธาน ซึ่งตามธรรมเนียมนั้น ส่วนใหญ่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะดำรงตำแหน่งนี้ และการตั้งบอร์ด 13 คนนั้น หากไม่นับตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว บุคคลอื่นๆ ล้วนแต่ใกล้ชิดรัฐบาลอย่างมาก จึงน่าสังเกตว่าเป็นการตั้งคนใกล้ชิดเพื่อมาผลักดันนโยบายจำนำ เพราะที่ผ่านมา ธ.ก.ส.เริ่มจะไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เพราะมีการใช้สภาพคล่องของธนาคารค่อนข้างมาก ในขณะที่เงินต้นก็ที่กระทรวงพาณิชย์รับปากไว้ในการระบายข้าวก็ไม่สามารถมาชดใช้ได้ตามกำหนด และธนาคารก็ไม่สามารถทวงถามได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  กล่าวถึงกรณีที่ ธ.ก.ส.เหลือสภาพคล่องแค่ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำโครงการรับจำนำว่า ปัญหาพื้นฐานคือกระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถระบายข้าวได้ จึงไม่มีเงินไปคืน ธ.ก.ส. ทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลจะเดินหน้าโครงการต่อ ก็ต้องหาเงินให้ ธ.ก.ส. และหวังว่าฝ่ายการเมืองจะไม่บีบให้ธนาคารใช้สภาพคล่องมาดำเนินโครงการ เพราะธนาคารรัฐแห่งอื่นก็มีปัญหาอยู่แล้ว ไม่ควรทำให้ ธ.ก.ส.มีปัญหาอีก
“ถ้า ธ.ก.ส.ต้องล้มเพราะต้องมาสนองนโยบายรัฐบาลนั้น ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ” นายอภิสิทธิ์กล่าว
ด้านนายชวนนท์ ได้เรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์ชี้แจงถึงผลการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการขายข้าวจีทูจีที่ใช้เวลากว่า 2 เดือนแล้ว โดยระบุว่า นายบุญทรงต้องออกมาชี้แจง ซึ่งสาเหตุที่เปิดเผยไม่ได้ก็ขอตั้งข้อสังเกตว่า เพราะไม่มีการขายข้าวจริง จนทำให้ ธ.ก.ส.ได้รับผลกระทบเรื่องสภาพคล่อง
มีรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เร็วๆ นี้ สมาคมโรงสีข้าวไทยจะทำหนังสือถึงกระทรวงเพื่อเสนอให้ทบทวนการออกประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เมื่อเดือน ม.ค. ที่ห้ามให้บุคคลใดขนย้ายข้าวเปลือก หรือข้าวสารครั้งละ 5 ตันขึ้นไป เข้ามา หรือออกจากจังหวัดติดกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ยกเว้นจะได้รับอนุญาตก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเข้าข้าวจากเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์ในโครงการรับจำนำ โดยสมาคมมองว่าการออกประกาศเป็นอุปสรรคมากกว่าผลดี ซึ่งหากรัฐจะควบคุมการขนย้าย ก็ควรบังคับใช้เฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหาเท่านั้น โดยจะเสนอให้ใช้เฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3 จังหวัดภาคเหนือเท่านั้น
วันเดียวกัน มีกระแสข่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้อนุมัติการระบายขายข้าวแบบไม่เปิดเผยให้กับผู้ส่งออกรายใหญ่ 2-3 รายในราคาถูกกว่าราคาตลาด ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้นำออกมาเร่ขายในตลาด จึงทำให้ปริมาณข้าวในท้องตลาดมากขึ้นกว่าปกติมาก และทำให้กระทรวงพาณิชย์ยังไม่อนุมัติการระบายข้าวโดยตรงให้กลุ่มโรงสีและผู้ผลิตข้าวถุงที่ได้เสนอซื้อไปแล้วประมาณ 300,000 ตัน.
http://www.thaipost.net

เขียนโดย   คุณ Social News
วันที่ 22 ก.พ. 2556 เวลา 06.25 น. [ IP : 125.26.114.36 ]


เขียนโดย   คุณ คน เต้าข่าว
วันที่ 25 ก.พ. 2556 เวลา 05.37 น. [ IP : 125.26.127.138 ]
รัฐบาลถังแตกแล้ว! พาณิชย์เตรียมชง “กขช.”   1 มี.ค.นี้ พิจารณาลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 56 จากตันละ 1.5 หมื่นบาท เหลือไม่ต่ำกว่า 1.3 หมื่นบาท อ้างชาวนารวยขึ้น ปลดหนี้ได้แล้ว ขณะที่ ครม.ไฟเขียวแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ  * * * ้เงิน 2 ล้านล้านบาท
    นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เผยเมื่อวันอังคารว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน วันที่ 1 มี.ค.นี้ กระทรวงพาณิชย์จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และราคาการรับจำนำข้าวเปลือกปี 55/56 รอบ 2 หรือโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 56 ที่จะเริ่มในเดือนเม.ย.-พ.ค.นี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการ หลังจากที่โครงการรอบแรกจะสิ้นสุดในเดือน มี.ค.นี้ โดยจะปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าให้ที่ประชุมพิจารณา ขณะที่ราคาข้าวเปลือกชนิดอื่นๆ จะยังคงราคาเดิมตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีปี 55/56
    เธอบอกว่า ราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าจะเสนอ 3 ระดับราคาคือ ตันละ 15,000 บาทเท่าเดิม หรือรับจำนำที่ตันละ 14,000 บาท หรือตันละ 13,000 บาท เพราะเห็นว่า โครงการรับจำนำของรัฐบาลนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลตั้งราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิที่ตันละ 20,000 บาทนั้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสามารถลดภาระหนี้สินไปได้มากแล้ว น่าจะเพียงพอสำหรับการช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว ขณะนี้จึงน่าจะหันมาสร้างความสมดุลให้กับด้านการตลาดและการส่งออกบ้าง
    ”เกษตรกรส่วนใหญ่บอกว่าหนี้สินที่มีอยู่น่าจะปลดเปลื้องได้ภายใน 2 ปี ซึ่งรัฐบาลนี้ก็ทำโครงการรับจำนำข้าวราคาสูงมา 2 ปีแล้ว ก็น่าจะลดภาระไปหนี้สินไปได้มาก จึงน่าจะทำให้ด้านการตลาดและด้านการส่งออกคล่องตัวมากขึ้นบ้าง ถ้าลดราคารับจำนำลงมาอีก ผู้ส่งออกน่าจะขายได้มากขึ้น มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น อุตสาหกรรมข้าวก็จะขยายตัวได้มากขึ้น และเกษตรกรไม่น่าได้รับผลกระทบอะไร”
    นางวัชรียืนยันว่า ที่เสนอให้พิจารณาปรับลดราคารับจำนำครั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับไม่มีงบประมาณเพียงพอในการรับจำนำ เพราะคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณในการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังไว้แล้วที่ประมาณ 150,000 บาท ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากเงินจากการขายข้าวในสต็อกของรัฐบาลแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ที่ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ได้ส่งคืนให้กระทรวงการคลังไปแล้วเกือบ 70,000 ล้านบาท ทั้งนี้ คงต้องรอให้ที่ประชุมพิจารณาก่อนว่าจะเลือกรับจำนำที่ราคาเท่าไร ซึ่งอาจเลือกราคาเดิมที่ตันละ 15,000 บาทก็เป็นได้
    ด้านนายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะโฆษกข้าว กล่าวว่า ในวันที่ 28 ก.พ.นี้ จะหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อสรุปสภาพคล่องการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทั้งรอบนาปีปี 55/56 และนาปรังปี 56 เบื้องต้นกรมยืนยันว่าได้ขายข้าวจีทูจีได้จำนวนมากแล้ว มีทั้งขายข้าวเก่าคือข้าวที่อยู่ในสต็อกรัฐบาลตั้งแต่ก่อนปี 50 และข้าวใหม่จากโครงการรับจำนำเมื่อปี 54 จนถึงปัจจุบัน แต่คงไม่สามารถเปิดเผยปริมาณราคาและประเทศผู้ซื้อได้ ซึ่งกรมได้ทยอยส่งเงินค่าขายข้าวให้กระทรวงการคลังอย่างต่อเนื่อง เพราะการระบายข้าวแต่ละครั้งจะไม่ได้รับเงินทั้งหมดทันที ต้องส่งมอบข้าวให้ผู้ซื้อก่อน โดยการส่งมอบแต่ละครั้งจะมีปริมาณไม่กี่แสนตัน
    “ผมเคลียร์กับ สบน.และ ธ.ก.ส.แล้ว แต่จะคุยเพื่อลงรายละเอียดตัวเลขสภาพคล่องโครงการรับจำนำอีกครั้ง เป็นการคุยกันระดับเจ้าหน้าที่ ก่อนนำเสนอตัวเลขให้ กขช.รับทราบ เพราะรัฐบาลต้องการรู้รายละเอียดทั้งหมดว่าจะขายข้าวได้เท่าไหร่ และต้องใช้เงินเท่าไหร่ มีภาระหนี้สินเท่าไหร่ ตั้งแต่ต้นปีส่งเงินค่าข้าวไปแล้ว 52,000 ล้านบาท เป็นการขายข้าวแบบจีทูจีเท่านั้น แต่รายได้จากการระบายในส่วนอื่นเมื่อรวมแล้วจะมีเงินส่งคืนรวม 60,000-70,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายข้าวเก่าประมาณ 1,000 ล้านบาท เงินส่วนนี้ไม่สามารถนำมาใช้ในโครงการรับจำนำได้ จะใช้ได้เฉพาะเงินที่ขายข้าวใหม่เท่านั้น” นายทิฆัมพรกล่าว
    นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ ธ.ก.ส.กำลังเข้าสู่ภาวะถังแตก จึงเชื่อว่า ครม.ต้องอนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงิน * * * ้ 7 หมื่นล้านบาทให้ ธ.ก.ส.อย่างแน่นอน เพราะการดำเนินโครงการพืชผลทางการเกษตรของรัฐบาล ทั้งข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ตั้งแต่ปี 55-56 ใช้เงินไปแล้ว 564,175 ล้านบาท แต่ใช้เงิน * * * ้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 304,750 ล้านบาท นอกนั้นใช้เงินจาก ธ.ก.ส.ทั้งสิ้น ก้อนแรก 9 หมื่นล้านบาท ที่ตั้งไว้สำหรับการแทรกแซงราคาพืชผล แต่ใช้ไปแล้วกว่า 2 แสนล้านบาท เกินกว่าที่ ธ.ก.ส.คาดการณ์ไว้ถึง 110,823 ล้าน และกลับขายสินค้าเกษตรได้เงินแค่ 58,602 ล้านบาท หรือประมาณ 10% ของเงินในโครงการ จึงทำให้รัฐบาลถังแตก ไม่มีเงินแม้แต่บาทเดียวในการทำโครงการรับจำนำข้าวนาปรังที่จะเริ่มในวันที่ 1 เม.ย.นี้
    “จากที่ผมได้ลงพื้นที่พบว่าในช่วงเดือน มี.ค.นี้ เป็นเดือนที่เกษตรกรจะต้องใช้หนี้ตามเงื่อนไขให้กับ ธ.ก.ส. แต่เกษตรกรกลับยังไม่ได้เงินจากโครงการจำนำข้าวเลย จึงทำให้เกษตรกรไม่มีเงินใช้หนี้ ธ.ก.ส. และต้องหันไป * * * ้หนี้ระยะสั้นมาใช้หนี้ จึงมีความเดือดร้อนอย่างมาก” นพ.วรงค์กล่าว
    ทั้งนี้ ในการประชุม ครม.เมื่อวันอังคาร มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลัง * * * ้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ พ.ศ....
    นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เผยว่า เป็นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ของรัฐบาลนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ การลดความเหลื่อมล้ำ และการกระจายความเจริญออกสู่ภูมิภาค ไปจนถึงการลดมลภาวะที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งผ่านการพัฒนาระบบราง ซึ่งจะมีสัดส่วนการลงทุนตามแผนลงทุนครั้งนี้สูงถึง 80% ขณะที่การลงทุนด้านถนนจะใช้เงินลงทุนประมาณ 10% ของแผนการลงทุนทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะเป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบน้ำและอื่นๆ ตามความสำคัญและความเหมาะสม โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนการพัฒนาและลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดทั่วประเทศ ทั้งโครงการขนาดใหญ่และเล็ก รวมถึงโครงการย่อย ซึ่งคิดเป็นวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 4.2 ล้านล้านบาท
          “ในส่วนที่รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ผ่านการยกร่าง พ.ร.บ. * * * ้เงินวงเงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งตามแผนลงทุนรวมของกระทรวงคมนาคม แต่ในส่วนที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ เป็นโครงการเร่งด่วน และมีความสำคัญ เช่น การสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-หัวหิน, กรุงเทพฯ-พัทยา และรถไฟฟ้า 10 เส้นทางกรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวมถึงมอเตอร์เวย์เส้นทางสำคัญเชื่อมจังหวัดต่างๆ เช่น บางปะอิน-นครราชสีมา, บางใหญ่-กาญจนบุรี  เพื่อเริ่มก่อสร้างให้มีผลเป็นรูปธรรมในช่วง 7-8 ปีข้างหน้า” นายชัชชาติกล่าว
    นายชัชชาติกล่าวอีกว่า พ.ร.บ. * * * ้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมนี้ จะเป็นแนวทางการลงทุนที่ชัดเจน และจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างประเทศ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการชี้แจงแผนการลงทุนดังกล่าวกับหลายประเทศ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และบางประเทศก็แสดงความเป็นห่วงว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ เพราะเป็นการพลิกหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศ
         ทั้งนี้ ในส่วนของกรอบระยะเวลาในการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. * * * ้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม วงเงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น หลังจากนี้ ช่วง 7-10 มี.ค.2556 กระทรวงการคลังจะมีการจัดนิทรรศการเพื่อชี้แจงและให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน รวมถึงจะมีเวทีเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการดังกล่าว ก่อนจะนำกลับมาเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาอีกครั้งช่วงกลางเดือน มี.ค.นี้ และหลังจากนั้น กระทรวงการคลังจะเร่งนำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเสนอให้สภา พิจารณาในปลายเดือน มี.ค.2556 เป็นวาระที่ 1 จากนั้นจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อเสนอสภาเป็นวาระที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนปกติของสภา
    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้เแทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์แถลงถึงตัวเลขการขาดดุลการค้าในเดือนมกราคม 2556 ที่เพิ่มขึ้นถึง 40.87% ว่า แนวโน้มการขาดดุลเกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งหากเป็นตัวสะท้อนในเรื่องความสามารถในการส่งออก จะมีผลกระทบค่อนข้างรุนแรง รัฐบาลจะต้องไม่นิ่งนอนใจ เศรษฐกิจไทยเกินดุลและหนี้สาธารณะต่ำ จึงวางเป้าหมายการบริหารเศรษฐกิจว่าจะ * * * ้เงินมากๆ ก็ได้ไม่เป็นไรนั้น ในวันนี้สถานการณ์ไม่ใช่แล้ว รัฐบาลจึงต้องทบทวน.

See more at: http://www.thaipost.net

เขียนโดย   คุณ คน เต้าข่าว
วันที่ 28 ก.พ. 2556 เวลา 11.55 น. [ IP : 125.26.125.33 ]
รัฐบาล"ถังแตก" แทรกแซงราคา-รับจำนำสินค้าเกษตรที่ต้องชดเชย ธ.ก.ส.และสถาบันการเงินรัฐ ตั้งแต่ปี2551-2556 สูงกว่า 6 แสนล้านบาท

     โครงการรับจำนำข้าวทุกเม็ดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถูกท้วงติงมาโดยตลอด ทั้งจากหลายภาคส่วนว่ามีการตั้งราคาสูงเกินไป เป็นเหตุให้ข้าวไทยในตลาดโลกไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ นอกจากนั้นยังเป็นภาระกับงบประมาณของรัฐที่ใช้จ่ายกับโครงการสูงเกินไป ทั้งงบประมาณในการเก็บรักษาและงบประมาณค่าข้าวโดยตรง ส่งผลให้รัฐบาลเป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
     แหล่งข่าวจาก คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เปิดเผยว่า ภาระหนี้จากนโยบายรับจำนำผลผลิตการเกษตรของรัฐบาลตั้งแต่ปี 25551-2556 มียอดคงค้างภาระหนี้โครงการดังกล่าว ที่รัฐบาลต้องตั้งงบประมาณชดเชย คืนให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สูงถึง 6 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินทุนของธ.ก.ส.จำนวน 1.04 แสนล้านบาท และเป็นเงิน * * * ้จากสถาบันการเงินของรัฐ จำนวน 4.5 แสนล้านบาท
สามารถแยกภาระหนี้ที่ยังไม่ได้ชดเชยคืน ธ.ก.ส. ประกอบด้วยโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2551 ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ธ.ค. 2551 วงเงิน 5.7 พันล้านบาท โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2552 ( มี.ค.-ธ.ค.2552) วงเงิน 3.3 หมื่นล้านบาท โครงการรับจำนำข้าวยุ้งฉาง ปี 2552/53 (ต.ค.52-ก.พ.53) วงเงิน 689 ล้านบาท โครงการรับจำนำข้าวยุ้งฉาง ปี 2553/54 วงเงิน 46 ล้านบาท โครงการชะลอขุดมันสำปะหลังปี 2554/55 วงเงิน 2 ล้านบาท โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2554/55 วงเงิน 6.3 หมื่นล้านบาท รวมภาระหนี้เงินทุนธ.ก.ส.ทั้งหมด 1.04 แสนล้านบาท
สำหรับเงิน * * * ้จากสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งจะเป็นภาระผูกพันนอกงบการเงิน ประกอบด้วย โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2551/52 (พ.ย.51 ต.ค.52) วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท โครงการระบายยุ้งฉางเกษตรกรปี 2551/52 (พ.ย.51-ต.ค.52) วงเงิน 283 ล้านบาท โครงการแทรกแซงราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2551/52 (ต.ค.51-ธ.ค.52) วงเงิน 4.6 พันล้านบาท โครงการแทรกแซงราคามันสำปะหลัง ปี 2551/52 (พ.ย.51-ธ.ค.52) วงเงิน 2.3 พันล้านบาท
     โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2554/55 (ต.ค.54-ก.ค.55) วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท โครงการจำนำข้าวเปลือกยุ้งฉางปี 2554/55 (ต.ค.54-ก.ย.55) วงเงิน 105 ล้านบาท โครงการระบายข้าวองค์การคลังสินค้า ปี 2554/55 (ส.ค.54-ก.ย.55) วงเงิน 1.5 พันล้านบาท โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2555 (มี.ค.55-ต.ค.55) วงเงิน 1.3 แสนล้านบาท โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2555 (พิเศษ) (ต.ค.55-พ.ย.55) วงเงิน 6.6 หมื่นล้านบาท โครงการรับจำนำมันสำปะหลัง ปี 2554/55 (ก.พ.54-มิ.ย.55) วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท โครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ปี 2555 (ม.ค.55-มี.ค.56 )วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท
นอกจากนั้น ยังมีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2555/56 (ต.ค.55-ก.ค.56) วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท โครงการรับจำนำข้าวเปลือกยุ้งฉาง ปี 2555/56 วงเงิน 23 ล้านบาท โครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราปี 2555/56 วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท โครงการรับจำนำมันสำปะหลังปี 2555/56 วงเงิน 1.8 พันล้านบาท รวมภาระหนี้ทั้งหมด 4.5 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีภาระหนี้จากโครงการประกันรายได้เกษตรกรที่เป็นเงินทุนของ ธ.ก.ส.ในปีการผลิต 2552/53 วงเงิน 5 พันล้านบาท และปีการผลิต 2553/54 วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท รวมภาระหนี้ 3.7 หมื่นล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ภาระหนี้คงค้างที่รัฐบาลยังไม่ได้ชดเชยให้ ธ.ก.ส. 6 แสนล้านบาท ทำให้ ธ.ก.ส. อาจจะมีปัญหาสภาพคล่องสำหรับการปล่อยสินเชื่อภาคเกษตรปกติได้ไม่มาก เพราะเงินทุนส่วนหนึ่งต้องนำมาสำรองจ่าย ในโครงการแทรกแซงผลผลิตภาคเกษตรของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาไปก่อน ซึ่งในช่วงเดือนมี.ค.ของทุกปี เป็นช่วงที่ธ.ก.ส.ต้องปล่อยสินเชื่อปกติให้แก่เกษตรกรส่วนอื่นๆ ของธนาคารด้วย ดังนั้นหากเงินทุนของธ.ก.ส.ต้องใช้สำรองจ่ายไปในโครงการของภาครัฐอย่างเดียวอาจจะกระทบต่อสภาพคล่องของธนาคารได้
" ที่ผ่านมารัฐบาลในอดีต เคยชำระคืนหนี้จากโครงการแทรกแซงสินค้าเกษตรให้ธ.ก.ส.มาแล้วจำนวนกว่า 4 แสนล้านบาท แต่ก็ยังมีภาระหนี้คงค้างเหลืออยู่และสำนักงบประมาณ ต้องตั้งงบประมาณชดเชยไว้ทุกปี แต่ก็ยังชำระคืนไม่หมด เพราะในแต่ละปีรัฐบาลก็จะมีโครงการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรหลักๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา และที่ใช้วงเงินจำนวนมากคือ การรับจำนำข้าวเปลือก" แหล่งข่าวระบุ
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20130301/492727/

เขียนโดย   คุณ คน เต้าข่าว
วันที่ 2 มี.ค. 2556 เวลา 14.16 น. [ IP : 125.26.119.176 ]
     
: รายละเอียด  
 
: แนบไฟล์   เลือกไฟล์ 
 
: ชื่อผู้เขียน  
 
 
 
(1)    2    
 
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 092-392-1119